วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงสร้างมาตรฐาน 43 เเฟ้ม เเฟ้มสะสม PROVIDER

9 - PROVIDER
     หมายถึง ข้อมูลผู้ให้บริการของสถานพยาบาล ประกอบด้วย

Definition
     1)  แพทย์และทันตแพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ป่วย
     2)  บุคลากรสาธารณสุขที่ทำหน้าที่ตรวจรักษา หรือให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
     3)  บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยฯ ที่ให้บริการ
     4)  บุคลากรสาขาอื่น (ที่กำหนด) ที่ทำหน้าที่ให้บริการ
     5)  อาสาสมัครสาธารณสุข

หมายเหตุ
     -  บุคลากรผู้ให้บริการ หมายถึง ทั้งที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิ
     -  บุคลากร 1 คน จะมี 1 record หากมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลของบุคลากรผู้ให้บริการ จะบันทึกใน record เดิม ของบุคลากรคนนั้น

ลักษณะแฟ้ม : แฟ้มสะสม

     1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
     2. กรณีที่มีผู้ให้บริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ให้บริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง ภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างแฟ้ม



ตารางที่เกี่ยวข้อง 

provider_type รหัสประเภทบุคลากร

01= แพทย์
02= ทันตแพทย์,
03= พยาบาลวิชาชีพ (ที่ทำหน้าที่ตรวจรักษา),
04= เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
05= นักวิชาการสาธารณสุข,
06=เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
07= อสม. (ผู้ให้บริการในชุมชน),
08= บุคลากรแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน แพทย์ทางเลือก (ที่มีวุฒิการศึกษาหรือผ่านการอบรมตามเกณฑ์)
09= อื่นๆ


การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ให้ส่งออกแฟ้ม PROVIDER


การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ในช่องสีแดง ต้องบันทึกข้อมูลลงไปให้ครบถ้วน  เพราะเป็นฟิลด์ตรวจสอบข้อมูลของแฟ้มนี้ ซึ่งไม่สามารถให้เป็นค่าว่างได้ครับ

โครงสร้างมาตรฐาน 43 เเฟ้ม เเฟ้มสะสม CHRONIC

4-CHRONIC

    หมายถึง ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย

Definition

     1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาล ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
   -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
   -  ข้อมูลผู้ป่วยโรครื้อรังในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับการวินิจฉัยและ/หรือรักษาโดยสถานพยาบาลอื่น จะเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบที่ครบถ้วน
   -  ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง 1 โรค จะมี 1 record หากมีมากกว่า 1 โรค ก็จะมีมากกว่า 1 record และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะบันทึกการแก้ไขใน record เดิมสำหรับโรคนั้น ของผู้ป่วยรายนั้น

ลักษณะแฟ้ม : แฟ้มสะสม

     1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
     2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างตาราง CHRONIC


ตารางที่เกี่ยวข้อง

ตาราง clinic_member_status

ในตารางนี้ ต้อง  map รหัสส่งออกให้ถูกต้องตามโครงสร้างของแฟ้ม CHRONIC ครับ



ตาราง provis_typedis
   01 = หาย
   02 = ตาย
   03 = ยังรักษาอยู่
   04 = ไม่ทราบ(ไม่มีข้อมูล) ,
   05 = รอจำหน่าย/เฝ้าระวัง
   06 = ขาดการรักษาไม่มาติดต่ออีก (ทราบว่าขาดการรักษา)
   07 = ครบการรักษา
   08  =โรคอยู่ในภาวะสงบ (inactive) ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา
   09 = ปฏิเสธการรักษา
   10 = ออกจากพื้นที่



เพิ่มเติมจาก พี่ทัช รพ.นาเชือก

รหัส icd10 ที่กำหนดตามนี้ครับ



clinic ใดที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ต้องกำหนดให้ถูกต้อง ว่าเป็นคลีนิก ที่จะส่งออกได้หรือไม่ ดูตามตารางด้านบนเป็นหลัก

โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ 50 แฟ้ม

ชุดข้อมูล 50 แฟ้ม (43+7) มีสาระที่ต้องจดจำให้ขึ้นใจดังนี้ ครับ
  • ข้อมูลผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน  ข้อมูลส่งเสริมป้องกัน จำนวน 43 แฟ้ม 
  • ข้อมูลส่งต่อผู้ป่วย จำนวน 7 แฟ้ม
การจัดส่งข้อมูล
  1. หน่วยงานที่ต้องจัดส่ง
    1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
    2. โรงพยาบาลชุมชน
    3. โรงพยาบาลทั่วไป
    4. โรงพยาบาลศูนย์
    5. สถานบริการระดับปฐมภูมิ
  2. สสจ.รวบรวมข้อมูลของทุกหน่วยบริการ-->ส่งข้อมูลผ่านระบบรับ-ส่งตามที่ สนย.กำหนด-->ตรวจสอบข้อมูล-->ประมวลผลรายงานตามความต้องการของพื้นที่--->เผยแพร่ข้อมูลในจังหวัด
  3. ระหว่างเปลี่ยนผ่านให้ส่งข้อมูลตามโครงสร้าง 21แฟ้ม ไปจนกว่าระบบจะมีความพร้อมจึงจะเริ่มส่งข้อมูล 43 แฟ้ม
  4. รอบการส่งข้อมูล "ตามรอบการจัดส่งข้อมูล 21 แฟ้ม"
  5. ปี 2556กำหนดให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชื่อมโยงข้อมูล 43แฟ้ม ด้วย HDCไปยังสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 
ประเภทของข้อมูลโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ 50 แฟ้ม มี 3 ลักษณะ
  1. แฟ้มสะสม
    • แฟ้มสำรวจจัดเก็บข้อมูลปีละ 1ครั้ง ในเดือนสิงหาคม และปรับข้อมูลเสร็จภายใน 1ต.ค.ของทุกปี 
    • หากข้อมูลผู้รับบริการมีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จะส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ
    • แฟ้มสะสมมีจำนวน 14 แฟ้ม
      1. PERSON : ข้อมูลทั่วไปของประชาชนในเขตรับผิดชอบ และผู้มารับบริการ
      2. ADDRESS : ข้อมูลที่อยู่ของผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบหรือประชาชนในเขตแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเจต
      3. DEATH : ข้อมูลประวัติการเสียชีวิตของประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยที่มารับบริการ
      4. CHRONIC : ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
      5. CARD : ข้อมูลประวัติการมีหลักประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยที่มารับบริการ
      6. WOMEN : ข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์
      7. NEWBORN : ข้อมูลประวัติการคลอดของทารก
      8. PRENATAL : ข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์
      9. LABOR : ข้อมูลประวัติการคลอดของหญิงคลอด
      10. HOME : ข้อมูลครัวเรือนของประชาชนในเขตรับผิดชอบ
      11. PROVIDER : ข้อมูลผู้ให้บริการของสถานพยาบาล
      12. VILLAGE : ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของชุมชน
      13. DISABILITY : ข้อมูลผู้พิการทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
      14. DRUGALLERGY : ข้อมูลประวัติการแพ้ขาของผู้ป่วยที่มารับบริการ
  2. แฟ้มบริการ
    • จัดเก็บและบันทึกข้อมูลบริการทุกครั้งที่มารับบริการ และส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ
    • แฟ้มบริการมีจำนวน 27 แฟ้ม
    1. SERVICE : ข้อมูลการมารับบริการฯและการให้บริการนอกสถานพยาบาล
    2. DIAGNOSIS_OPD : ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ 
    3. APPOINTMENT : ข้อมูลการนัดมารับบริการครั้งต่อไปของผู้มารับบริการ
    4. SURVEILLANCE : ข้อมูลรายงานทางระบาดวิทยา
    5. DRUG_OPD : ข้อมูลการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    6. PROCEDURE _OPD : ข้อมูลการให้บริการหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    7. CHRONICFU : ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ความดัน
    8. LABFU : ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดัน
    9. CHARGE_OPD : ข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละรายการสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
    10. ADDMISSION : ข้อมูลประวัติการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
    11. CHARGE_IPD : ข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละรายการสำหรับผู้ป่วยใน
    12. DIAGNOSIS_IPD : ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยใน
    13. DRUG_IPD : ข้อมูลการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยใน
    14. PROCEDURE _IPD : ข้อมูลการให้บริการหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยใน
    15. ACCIDENT : ข้อมูลผู้มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน (ER) ของ รพ. และแผนกทั่วไปของ รพ.สต.
    16. COMMUNITY_SERVICE : ข้อมูลการให้บริการในชุมชนสำหรับกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบ
    17. COMMUNITY_ACTIVITY : ข้อมูลกิจกรรมในชุมชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ
    18. DENTAL : ข้อมูลการตรวจสภาวะทันตสุขภาพของฟันทุกซี่ และข้อมูลการวางแผนการส่งเสริม ป้องกัน รักษา (หญิงตั้งครรภ์,เด็กในโรงเรียน,ผู้รับบริการ)
    19. FUNCTIONAL : ข้อมูลการตรวจประเมินความบกพร่องทางทางสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ
    20. ICF : ข้อมูลการประเมินสภาวะสุขภาพ ความสามารถ และปัจจัยอื่นๆ กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการในโรงพยาบาล ของผู้พิการ
    21. CARE_REFER : ข้อมูลประวัติการได้รับยาของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    22. CLINICAL_REFER : ข้อมูลการประเมินทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    23. DRUG_REFER
    24. INVESTIGATION_REFER : ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจวินิจฉัยอื่นๆของผู่ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    25. PROCEDURE _REFER : ข้อมูลประวัติการได้รับการทำหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
    26. REFER_HISTORY : ข้อมูลประวัติการส่งส่งต่อผู้ป่วย
    27. REFER_RESULT : ข้อมูลการตอบรับการส่งต่อ/ส่งกลับผู้ป่วย
  3. แฟ้มบริการกึ่งสำรวจ
    • จัดเก็บและบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มารับบริการ และสำรวจข้อมูลประชากรที่อาศัยในเขตรับผิดชอบที่ไปรับบริการที่สถานบริการอื่นและบันทึกข้อมูล   (จะเห็นว่ามีการเน้นเรื่องประชากรในเขตรับผิดชอบ ดังนั้นถ้ามีผู้มารับบริการเช่น มีเด็ก 6เดือนมาฉีดวัคซีนซึ่งเด็กเพิ่งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในเขตรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่จะต้องบันทึกการให้บริการและลงข้อมูลจากสำรวจข้อมูล ว่าคลอดที่ไหน วัคซีน BCG,DTPHBรับมาจากที่ไหน ลงย้อนหลังให้ครบถ้วนด้วย)
    • ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ
    • แฟ้มสะสมมีจำนวน 9 แฟ้ม
    1. FP : ข้อมูลบริการวางแผนครอบครัว
    2. EPI : ข้อมูลการให้บริการวัคซีนกับผู้มารับบริการ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
    3. NUTRTION : ข้อมูลการวัดระดับโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีและนักเรียน
    4. ANC: ข้อมูลบริการฝากครรภ์
    5. NEW BORNCARE : ข้อมูลการดูแลหลังคลอดทารก
    6. POSTNATAL : ข้อมูลบริการดูแลหลังคลอด
    7. NCDSCREEN : ข้อมูลการคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไป
    8. SPECIALPP : ข้อมูลการให้บริการส่งเสริมป้องกันโรคเฉพาะผู้ที่มารับบริการ
    9. REHABILITATION : ข้อมูลการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
ประโยชน์ของข้อมูล 43  แฟ้ม
  1. ประมวลผลรายงานให้บริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัดและระดับกระทรวง (ขอให้จริงเถอะ..สาธุ)
  2. ออกรายงานตาม Data set สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสามารถนำรายงานมาทำตัวชี้วัดได้ (ว้าว)
  3. วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลที่ได้จาก 43 แฟ้มในมิติต่างๆ
  4. มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ประมวลผลร่วมกัน ลดภาระในการจัดทำรายงานของหน่วยงาน

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงสร้างมาตรฐาน 43 เเฟ้ม เเฟ้มสะสม DEATH

3 – DEATH (บันทึกใน โรงพยาบาลเท่านั้น)

    หมายถึง ข้อมูลประวัติการเสียชีวิตของประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ และผู้ป่วยที่มารับบริการ ประกอบด้วย

Definition
    1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ
    2)   ผู้ป่วยที่มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
    -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
    -  กรณีเสียชีวิตในสถานพยาบาล สถานพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้บันทึกข้อมูล
    -  สถานบริการระดับปฐมภูมิจะบันทึกข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบที่เสียชีวิต เฉพาะกรณีเสียชีวิตนอกสถานพยาบาล และ กรณีเสียชีวิตในสถานพยาบาลที่อยู่นอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ลักษณะแฟ้ม แฟ้มสะสม

    1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
    2. กรณีที่มีผู้เสียชีวิตหลังเดือนสิงหาคม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้นๆ
    3. กรณีที่มีผู้มารับบริการแล้วเสียชีวิตรายใหม่ หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการที่เสียชีวิตรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง

โครงสร้างตาราง DEATH





ตารางที่เกี่ยวข้อง

ตาราง Death_place  :  1=ในสถานพยาบาล, 2=นอกสถานพยาบาล

โครงสร้างมาตรฐาน 43 เเฟ้ม เเฟ้มสะสม ADDRESS


2 – ADDRESS  
        หมายถึง ข้อมูลที่อยู่ของผู้ที่มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ หรือประชาชนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย

Definition
    1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    2)   ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
    -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
    -  ประชาชนผู้ที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ ข้อมูลที่อยู่ จะอยู่ในแฟ้ม HOME สำหรับข้อมูลที่อยู่ในแฟ้ม ADDRESS จะบันทึกเฉพาะข้อมูลที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เฉพาะกรณีที่ทะเบียนบ้านไม่ตรงกับที่อยู่จริงในเขตรับผิดชอบเท่านั้น

ลักษณะแฟ้ม แฟ้มสะสม

    1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  ตุลาคม ของทุกปี
    2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง ภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างตาราง ADDRESS


ในกรอบสีแดง คือข้อมูลที่ ต้อง บันทึกลงไปในฐานข้อมูลนะครับ
 ส่วนของ รหัสสถานบริการ (HOSPCODE) ,ทะเบียนบุคคล PID ,วันเดือนปีที่เก็บข้อมูล D_UPDATE ทางโปรแกรมจะทำการเพิ่มข้อมูลให้อัตโนมัติ

ในกรอบสีน้ำเงิน คือข้อมูลที่ ควร บันทึก หมายถึง ต้องสอบถามข้อมูลจากแหล่งข้อมูลนั้นๆด้วย หากมีข้อมูล ควรบันทึกข้อมูลลงไป เช่น ประเภทที่อยู่ , ลักษณะที่อยู่ , หมู่ที่ , ตำบล , อำเภอ , จังหวัด
ตารางที่เกี่ยวข้อง

House
    ตารางเก็บข้อมูลของแฟ้ม ADDRESS  เช่น เลขห้อง , ชื่ออาคาร , บ้านเลขที่ , ซอย , ถนน , หมู่ที่ , ตำบล , อำเภอ , จังหวัด เป็นต้น

ตาราง House_subtype
    1 = บ้านเดี่ยว บ้านแฝด
    2 = ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม
    3 = คอนโดมิเนียม
    4 =อพาร์ทเมนท์ หอพัก
    5= บ้านพักคนงาน
    8 = อื่นๆ
    9 = ไม่ทราบ




     การบันทึกข้อมูลที่อยู่ประชากรที่มาอาศัยในเขตรับผิดชอบ ใน 43 แฟ้ม ของโปรแกรม hosxp นั้นต้องบันทึกข้อมูลของประชากรทั้ง Ttpearea 3,4 เพราะ 

Typearea 3 = มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
Typearea 4 = ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและเข้ามารับบริการ

Definition ของแฟ้ม ADDRESS กล่าวไว้ว่า
  ข้อมูลที่อยู่ของผู้ที่มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ หรือประชาชนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย
    1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    2)   ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ

ดังนั้นการบันทึกข้อมูล แฟ้ม ADDRESS ของโปรแกรม HOSxP นั้นทำได้ดังนี้

ระบบงานอื่นๆ >> ระบบงานบัญชี 1-8 >> ระบบบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ) >> เลือกหมู่บ้านนอกเขตรับผิดชอบ (หมู่ 0) และประชากร Typearea 3 แล้วบันทึกข้อมูลที่อยู่ดังรูป


รูปที่ 1 การบันทึกข้อมูลที่อยู่ของประชากร typearea 3 , 4

โครงสร้างมาตรฐาน 43 เเฟ้ม เเฟ้มสะสม PERSON


 สวัสดีครับ พี่น้องทีม It-thailoei ทุกท่าน หลายท่านคงทราบแล้วว่า ทาง สนย.(สำนักนโยบายและยุทธศาตร์) ได้ประกาศโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม อย่างเป็นทางการแล้ว และผมได้ติดตามข่าวของโครงสร้าง 43 แฟ้ม มาตลอด ผมจึงได้ทำสรุปของแต่ละแฟ้ม ออกมาให้ทางเพื่อนๆ It-thailoei ได้เข้าใจและได้ตรวจสอบฐานข้อมูล ตามมาตรฐานโครงส้ราง 43 แฟ้ม ครับ เรามาเริ่มกันที่ แฟ้มแรกเลย

1 - PERSON 
        หมายถึง ข้อมูลทั่วไปของประชาชนในเขตรับผิดชอบและผู้ที่มาใช้บริการ ประกอบด้วย
Definition
        1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ
        2)   ประชาชนทุกคนที่อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ
        3)   ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
หมายเหตุ
        เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ

ลักษณะแฟ้ม :  แฟ้มสะสม

        1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  ตุลาคม ของทุกปี
        2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

ตารางที่เกี่ยวข้อง

Provis_typearea (สถานะบุคคล)
    1= มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบและอยู่จริง
    2= มีชื่ออยู่ตามทะเบีบนบ้านในเขตรับผิดชอบแต่ตัวไม่อยู่จริง
    3= มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ(ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ)แต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    4= ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและทะเบียนบ้านไม่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เข้ามารับบริการหรือเคยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
    5=มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัย เป็นต้น 
(เดิม  ๒๑ แฟ้ม)  (0=มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัย เป็นต้น  )

  มีการปรับเปลี่ยนรหัสจาก 21 แฟ้ม คือ จาก 0 เป็น 5


รูปที่ 1 typearea 43 แฟ้ม


Provis_pname (คำนำหน้าชื่อ) :  คำนำหน้าชื่อ อ้างอิงมาตรฐานตามกรมการปกครอง

Provis_sex (เพศ) :  1 = ชาย , 2 = หญิง

Provis_occupa (อาชีพ) รหัสมาตรฐานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
    เดิมใช้รหัส หลัก (21 แฟ้ม)
    รหัสอาขีพใหม่ หลัก (43 แฟ้ม)

Provis_race (เชื้อชาติ)  :  รหัสมาตรฐานตามกรมการปกครอง

Provis_religion (ศาสนา) :  รหัสมาตรฐานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์


รูปที่ 2 รหัสศาสนา 43 แฟ้ม


Provis_nation (สัญชาติ) : รหัสมาตรฐานตามกรมการปกครอง ถ้าไม่ทราบให้ระบุ 999 ตามรหัสมาตรฐาน

Provis_education (การศึกษา) : รหัสมาตรฐานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 

    เดิม 21 แฟ้ม ใช้ 1 หลัก 43 แฟ้ม ใช้ 2 หลัก ซึ่งในฐานข้อมูลของ HOSxP คงต้องรอทาง Provider ปรับในเวอร์ชั่นหลังจากที่ประกาศ Standard Data Set แล้วครับ 


รูปที่ 3  รหัส การศึกษา 43 แฟ้ม


Provis_fstatus (สถานะครอบครัว)  :   1 = เจ้าบ้าน  , 2 = ผู้อาศัย

Provis_dischar (สถานะการจำหน่าย) : 1 = ตาย , 2 = ย้าย  , 3 = สาบสูญ , 9 =ไม่จำหน่าย


รูปที่ 4 รหัส สถานะการจำหน่าย 43 แฟ้ม


Provis_bgroup (หมู่เลือด) :  1 = A , 2 = B , 3 = AB , 4 = O


รูปที่ 5 รหัสหมู่เลือด 43 แฟ้ม


Blood_rh : 1 = positive , 2 = negative


รูปที่ 6 รหัส หมู่เลือด 43 แฟ้ม

ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะแนวทางอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ

การปรับวัคซีนใหม่ปี 2560


     ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อัพเดทฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ในรายการรหัสมาตรฐานอ้างอิงใน 43 แฟ้ม UPDATE ที่ไฟล์  198.รหัสวัคซีน (แฟ้ม EPI) 6 ต.ค. 59.xls

มีการปรับวัคซีนใหม่ปี 2560 ได้แก่ วัคซีน ทีที  TT  รหัสวัคซีน 101  และวัคซีน ทีที  dT  รหัสวัคซีน 106  ตามภาพ


มีการยกเลิกวัคซีนในปี 2560  ตามภาพ


    วัคซีน dT ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ-บาดทะยักในบุคคลที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไปในทุกกรณี ได้แก่ กรณีบาดแผล หญิงมีครรภ์ กระตุ้นทุก 10 ปี

แยกจำแนกประเภท กลุ่มวัคซีนและระบบงานที่ใช้บันทึกข้อมูลวัคซีน dT , TT  ได้ดังนี้

     วัคซีนกลุ่มหญิงตั้งครรภ์  >> บันทึกข้อมูลวัคซีน  dT , TT  ในระบบบัญชี 2
     วัคซีนกลุ่มบุคคลทั่วไป  >> บันทึกข้อมูลวัคซีน  dT , TT  ในระบบห้องฉุกเฉิน , ห้องคัดกรอง และ ระบบ One Stop Service

     เพื่อให้โปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU สามารถบันทึกและส่งออกข้อมูลวัคซีน dT , TT ได้ถูกต้อง
  จะต้องปรับปรุงข้อมูลวัคซีน dT , TT มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้

     1. ปรับปรุงตาราง anc_service  โดยแก้ไขรหัสส่งออกวัคซีนที่ฟิลด์ export_vaccine_code   ตามภาพ



     2. ปรับปรุงตาราง person_vaccine  โดยแก้ไขรหัสส่งออกวัคซีนที่ฟิลด์ export_vaccine_code   ตามภาพ



     เพียงเท่านี้ โปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU ก็สามารถบันทึกและส่งออกข้อมูลวัคซีน dT , TT ได้ถูกต้อง ตามมาตรฐานรหัสที่ สนย. ต้องการแล้วครับ..


หมายเหตุ
              วัคซีน ทีที   TT  วินิจฉัย รหัส ICD10: Z235
              วัคซีน ดีที   dT  วินิจฉัย รหัส ICD10: Z235, Z236

คู่มือการตั้งค่าวัคซีน ตอนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับตารางวัคซีน


พูดถึงเรื่องการตั้งค่าและการใช้งานวัคซีนในโปรแกรม HOSxP เป็นยาขมสำหรับโรงพยาบาลและ รพ.สต.กันพอสมควร ในช่วงที่ผมเริ่มใช้ HOSxP เมื่อปี 2548 เวอร์ชั่นในยุคนั้นยังไม่มีโปรแกรมรองรับระบบงาน PCU แต่ก็มีเมนูบัญชี 1-10 ให้เห็นเป็นความหวังว่าจะมีการพัฒนาในส่วนนี้ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคที่ 18 แฟ้มเฟื่องฟู จังหวัดร้อยเอ็ดได้ร่วมกับ BMS เพื่อพัฒนา HOSxP PCU ใช้งานทั้งจังหวัด และยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ใช้กันฟรีๆ ทำให้มีการโยกย้ายถ่ายโอนข้อมูลจาก HCIS มาสู่ HOSxP PCU ในหลายพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้หรือเปลี่ยนมาใช้ JHCIS ซึ่งดูเหมือนกว่าจะตอบสนองต่องานของ รพ.สต.ได้ดีกว่า..

ในส่วนของเรื่องวัคซีนหลังจากที่มีการนำเข้ามาใช้ใน HOSxP PCU ซึ่งจะมีระบบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนอยู่หลายบัญชี เช่น บัญชี 2 ,บัญชี 3 บัญชี 4 และบัญชี 5 ปัญหาของการตั้งค่าวัคซีนที่มีตารางเกี่ยวข้องหลายตัวทำให้แต่ละแห่งมีการตั้งค่าวัคซีนที่แตกต่างกันตามความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งก็พบคำถามในเรื่องของการตั้งค่า การใช้ การแสดงผลในเวปบอร์ดของ HOSxP กันมากมาย แม้กระทั่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2553 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการเปิดห้องสำหรับพูดคุยในหัวข้อเรื่องวัคซีนกันโดยเฉพาะ และเชิญปรมาจารย์อย่างป่าเจดีย์ มาจับเข่าคุยกันแบบเจาะลึกกันทีเดียว..

แต่ถึงกระนั้น ในเรื่องของวัคซีนก็ยังมีคำถามที่ต้องให้คิดให้ตอบกันอีกมากมาย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของวัคซีนรวมและการแสดงผลในโปรแกรม HOSxP ที่ยังไม่ตอบโจทย์ที่ตรงใจผู้ใช้งานมากนัก ผมจึงอยากเขียนบทความในหัวข้อที่เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงวิธีการใช้งานที่ได้จากประสบการณ์ในการทดลองใช้กับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล

เอาละครับก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตารางต่างๆ ใน HOSxP และ HOSxP PCU ด้วยว่ามีตารางที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

ตารางที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
1. vaccine_combination
2. person_vaccine
3. wbc_vaccine
4. baby_items
5. epi_vaccine
6. student_vaccine
7. women_vaccine
8. anc_service
9. provis_vcctype

1. vaccine_combination 
ตาราง Vaccine_combination เป็นตารางที่เกี่ยวกับการกำหนดค่าของวัคซีนโดยเฉพาะตัววัคซีนรวม ช่วงแรกมีการกำหนดค่าในกลุ่มของวัคซีน DTPHB เนื่องจากในช่องการแสดงผลของบัญชี 3 ยังไม่มีช่องแสดงข้อมูลของ DTPHB แต่ว่าในทางปฏิบัติมีการใช้วัคซีนตัวนี้แทน DTP และ HBเพื่อลดจำนวนครั้งในการฉีดให้กับเด็ก ดังนั้นถึงแม้จะมีการเพิ่มข้อมูลวัคซีน DTPHB ในตาราง person_vaccine แต่เวลาประมวลผลความครอบคลุมยังคงคิดในระบบเดิมคือ BCG,HB,DTP,OPV,Measle ทำให้ต้องกำหนดค่าในvaccine_combination เืพื่อที่เวลาลงการฉีดวัคซีน DTPHB จะมีวันที่ไปแสดงในช่องของวัคซีน DTP และ HB

ใน HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ๆ บัญชี 3 มีช่องแสดงผลของวัคซีน DTPHB ,Measle/MMR และสามารถกำหนดการคำนวนได้ว่าจะใช้วัคซีนตัวในการคำนวนความครอบคลุมทำให้ตาราง vaccine_combination ในปัจจุบันอาจจะไม่ต้องตั้งค่าอะไรที่ซับซ้อนเหมือนแต่ก่อน

2. person_vaccine
ตาราง Person_vaccine เป็นตารางข้อมูลวัคซีน และรหัสต่างๆที่ต้องกำหนดให้ถูกต้องตามมาตรฐานของ สนย.หรือ สปสช. ที่มีการชี้แจงเรื่องการกำหนดค่ามาตรฐานเกี่ยวกับวัคซีนในชุดข้อมูล 18 แฟ้ม หรืออ้างอิงได้จาก http://www.thcc.or.th/download/vaccine.pdf ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานรหัสและ้ข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้ข้อมูลในตารางนี้จึงสามารถอ้างอิงตามชุดข้อมูลมาตรฐานในการกำหนดข้อมูล

3. wbc_vaccine
ตาราง wbc_vaccine เกี่ยวข้องโดยตรงกับบัญชี 3 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเ็ด็ก 0-1 ปี ซึ่งจะมีรายวัคซีนที่ใช้อ้างอิงกับตาราง person_vaccine และ vaccine_combination คือ BCG,HB,DTP,OPV,Measle/MMR, และ DTPHB

วัคซีน DTPHB และ Measle/MMR เป็นวัคซีนรวมที่เพิ่งมีการใช้มาไม่นาน ( DTP ก็เป็นวัคซีนรวมตัวหนึ่ง) ตัววัคซีน DTPHB ก่อนหน้านี้มีการกำหนดใน Vaccine_combination เพื่อให้สามารถแสดงผลใน DTP และ HB ตามที่ผมได้อธิบายใน vaccine_combination แต่ตัว Measle/MMR เป็นวัคซีนที่เริ่มมีการใช้งานในเดือน กรกฎาคม 2553 และกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มกระจายวัคซีน MMR สำหรับให้บริการแก่เด็กอายุ 9-12 เดือน ทดแทนวัคซีน Measle (หัดชนิดเดี่ยว) แต่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ MMR ของนักเรียน ป.1 ที่เดิมทีเข้าใจว่าเป็นรหัสวัคซีนตัวเดียวกัน จึงเรียกกันว่า MMR แต่ใช้รหัสวัคซีนต่างกัน คือ 061 และ 071 ต่อมาจึงมีการปรับชื่อที่ใช้เรียกให้เหมาะสม เป็น Measle/MMR สำหรับเด็ก 0-12 เดือน และ MMR สำหรับเด็ก ป.1 เนื่องจากวัคซีนทั้ง 2 ชนิดผลิดจากเชื้อคางทูมต่างสายพันธุ์กัน และการผลิตวัคซีนสำหรับเด็กเล็กมีขนาด Single dose (อัตราการสูญเสียวัคซีน 1%) ส่วน MMR ในเด็ก ป.1 มีการผลิตขนาด multiple dose (อัตราสูญเสีย 10 %) ดังนั้นจึงมีข้อห้าม นำวัคซีน MMR ไปฉีดให้กับเด็ก 0-1 ปี แทน Measle/MMR และไม่ควรนำ Measle/MMR ในเด็กเล็กมาฉีดแทน MMR ในนักเรียน ป.1 เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด

4. baby_items
ตาราง baby_items เป็นตารางวัคซีนสำหรับการลงบันทึกข้อมูลกรณีที่มารับบริการโดยผ่านโมดูลของ OPD หรือ ER โดยเฉพาะกับกลุ่มประชาชนทั่วไป เช่นการฉีดวัคซีน TT ,วัคซีน FLU และวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

5. epi_vaccine
epi_vaccine เป็นตารางที่เกี่ยวข้องกับ person_vaccine และใช้ในบัญชี 4 ซึ่งมีรายการวัคซีนที่ใช้ฉีดในเด็ก 1-5 ปี โดยมีรายการวัคซีน คือ JE,DTP,OPV (ซึี่งจะเห็นว่าตัววัคซีน DTP ก็ยังมีใช้อยู่เฉพาะเด็กกลุ่มนี้)

6. student_vaccine
student_vaccine เป็นตารางวัีคซีนที่เกี่ยวข้องกับบัญชี 5 กลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งมีรายการวัคซีนพื้นฐานประกอบด้วย BCGs, dT,MMR, OPVs (โดยวัคซีนกลุ่มนี้จะเห็นว่ามีวัีคซีน dT ที่เป็นวัคซีนสำหรับฉีดในเด็กนักเรียน และหญิงตั้งครรภ์)

7. women_vaccine และ 8. anc_service
ทั้ง 2 ตารางมีความเกี่ยวข้องกับวัีคซีนป้องกันบาดทะัยักในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ซี่งต้องมาทำความเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนครับ
1. วัคซีน TT เป็นวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันบาดทะยักในในบาดแผล และหญิงตั้งครรภ์ (แต่ก่อนก็ใช้ TT ตัวเดียวนี่แหละครับ)
2. วัคซีน dT เป็นวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ(d) และบาดทะยัก(T) ในฉีดในกลุ่มเด็กนักเรียน และหญิงตั้งครรภ์โดยมีเหตุผลในทางวิชาการสนับสนุนว่าควรกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบซึ่งลดต่ำลงในผู้ใหญ่ที่ไม่มีการติดเชื้อทางธรรมชาติจึงให้ฉีด dTตั้งแต่ปี 2548 เพื่อที่จะได้มีภูมิคุ้มกันทั้งคอตีบและบาดทะยัก ทางสำนักงานควบคุมโรคติดต่อจึงสนับสนุนวัคซีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียน คือ วัคซีน dT แต่ในกลุ่มอื่นเช่น กรณีมีบาดแผลมาที่ห้องฉุกเฉินต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก วัคซีนตัวนี้ไม่มีสนับสนุนโรงพยาบาลจะต้องจัดซื้อเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็อาจจะจัดซื้อเป็น TT อย่างเดียว และมีการกำหนดรหัสขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีความชัดเจนออกเป็น dTANC ซึ่งใช้เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็สร้างความสับสนให้กับการตั้งค่าฐานข้อมูลพอสมควรดังนั้นในช่วงแรกจึงมีการกำหนดข้อมูลในตาราง women_vaccine และ anc_service เป็น TT/dT บ้าง หรือ dTANC/TT บ้าง ทั้งๆที่วัคซีนสองตัวนี้เป็นคนละชนิดกัน

ในโปรแกรม HOSxP บัญชี 2 ช่องข้อมูลวัคซีน จึงมีช่องสำหรับแสดงวันที่รับวัคซีนของ TT และ dTANC ที่แยกออกจากกันชัดเจนดังนั้นในการเซตค่าฐานข้อมูลของวัคซีน TT และ dT (หรือ dTANC ) ควรเป็นคนละชนิดกันครับ เพราะอาจจะมีบางครั้งที่สถานบริการไม่มีวัคซีน dT ฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์แต่สามารถนำ TT มาฉีดทดแทนได้ เพื่อป้องกันการสับสนจึงควรกำหนดฐานข้อมูลวัคซีนให้ตรงกับการให้บริการจริงโดยสรุปคือ ในตาราง women_vaccine และ anc_service จะมีข้อมูลวัคซีนเพียงแค่ TT และ dTANC

9. provis_vcctype
ตาราง provis_vcctype เป็นตารางสำหรับกำหนดค่าส่งออก 18 แฟ้มครับ

ในตอนต่อไปผมจะนำวิธีการเซตค่าของข้อมูลในต่างๆ มาให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับว่าควรจะเซตค่าอย่างไรที่จะสามารถทำให้การแสดงผลของวัคซีนถูกต้องในบัญชีต่างๆ ของโปรแกรม HOSxP







ภาพที่ 1 ตารางรหัสวัคซีนมาตรฐาน


ภาพที่ 2 ตารางการเก็บและการบริหารวัคซีน